คำว่า”พ่อ” คนส่วนมากคงคิดถึงเพศที่เข้มแข็งและปกป้อง
แต่สำหรับฉัน”พ่อ” หมายถึง
ผู้ ที่มีเมตตา กรุณา และสอนฉันด้วยเหตุผลไม่ใช้กำลังเป็นเครื่องตัดสิน สอนให้ พ
คือ พอเพียง พึ่งพา และพิจารณา ฉันเชื่อว่าคำสอนทั้ง “ 3 พ.” นี้เพียงพอสำหรับการสร้างเด็กน้อย
2 คนนี้ ที่ได้ชื่อว่า
เป็นลูกพ่อให้เป็นคนดีในอนาคตได้
พ.แรก
ที่พ่อสอนคือ “พอเพียง “ ซึ่งไปสอดคล้องกับแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวฯ ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง คือ สอนให้ฉัน รู้จักประมาณ มีเหตุผล
และมีภูมิคุ้ม กันตนเอง รู้จักประมาณฐานะของตนเอง ว่าควรปฏิบัติตน
และใช้จ่ายอย่างไรจึงจะเหมาะสม (ถ้ายังทำตัวไม่เหมาะสม ก็ควรปฏิวัติเสีย
ชีวิตจะดีขึ้น) รู้จัก ใช้เหตุผลในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆในชีวิตประจำวัน
เพราะถ้าเราขาดการ ตัดสินใจที่ดีอาจทำให้เกิดปัญหาใหญ่ในอนาคตได้
และพ่อยังคอยดูและสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกๆ รู้จักป้องกันตัวเองจากสิ่ง
แวดล้อมที่เย้ายวน หรือ ล่อแหลมให้หลงผิดได้
พ.ตัวที่สองคือ
“พึ่งพา” บางคนอาจเข้าใจผิดว่า
พ่อสอนให้ฉันพึ่งพาคนอื่น แต่มันกลับ
ผิด กันโดยสิ้นเชิง เพราะพ่อสอนให้ฉัน พึ่งพาตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คำสอนของพ่อ พ.นี้ ทำให้ฉันรู้จักทำงานด้วยตัวเอง คิดเอง ทำเอง และพึ่งตนเองเป็นอันดับแรก เพราะในสังคมปัจจุบันมีการแข่งขันสูง เราจึงต้องพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด(นี่เป็นการที่พ่อมองการณ์ไกล)และฝึก ให้ลูกทำตั้งแต่เล็กจนโต
ผิด กันโดยสิ้นเชิง เพราะพ่อสอนให้ฉัน พึ่งพาตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คำสอนของพ่อ พ.นี้ ทำให้ฉันรู้จักทำงานด้วยตัวเอง คิดเอง ทำเอง และพึ่งตนเองเป็นอันดับแรก เพราะในสังคมปัจจุบันมีการแข่งขันสูง เราจึงต้องพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด(นี่เป็นการที่พ่อมองการณ์ไกล)และฝึก ให้ลูกทำตั้งแต่เล็กจนโต
พ.ตัวที่สาม
คือ “พิจารณา” คำว่าพิจารณาคงไม่ได้เกี่ยวกับความผิดเพียงอย่างเดียว
หรือ การให้ผู้อื่นมาตัดสินตัวฉันก็คงไม่ใช่ เพราะพ่อสอนให้ฉันพิจารณาตนเองอยู่เสมอ ความหมายของข้อนี้ก็คงจะไปสอดคล้องกับ พ.ตัว ที่สอง คือ พ่อสอนให้พึ่งพาตนแล้วก็มักมีเรื่องผิดพลาดบ้าง พ่อก็จะสอนให้พิจารณาความ ผิดนั้น และหาข้อแก้ไข หรือปรับปรุงด้วยตัวฉันเอง
หรือ การให้ผู้อื่นมาตัดสินตัวฉันก็คงไม่ใช่ เพราะพ่อสอนให้ฉันพิจารณาตนเองอยู่เสมอ ความหมายของข้อนี้ก็คงจะไปสอดคล้องกับ พ.ตัว ที่สอง คือ พ่อสอนให้พึ่งพาตนแล้วก็มักมีเรื่องผิดพลาดบ้าง พ่อก็จะสอนให้พิจารณาความ ผิดนั้น และหาข้อแก้ไข หรือปรับปรุงด้วยตัวฉันเอง
การสอนพ่อนั้นคงไม่มีกฎหรือทฤษฎีที่ตายตัว
แต่พ่อมักยกตัวอย่างข้อผิดพลาดที่เกิดจาก ตัวท่านเอง
หรือเกิดจากผู้อื่นมาสอนฉันและความผิดของฉันด้วย
ทำให้ฉันต้องทำงานมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด พ่อ คือ ผู้สอนวิชาดำเนินชีวิต
แต่ท่านก็ไม่เคยทิ้งการเรียนในห้องเรียน เพราะท่านพูดเสมอว่า”ความรู้เท่านั้นที่ใช้ในการอยู่รอดในสังคมที่วุ่นวาย
นี้ได้ “ ท่าน ทุ่มสุดตัวเพื่อให้ลูกเรียนรู้ในสิ่งที่ดี
แม้ต้องทำงานหนักเพียงใด ท่านก็ต้องดูแลต้นไม้สองต้นนี้ คือ
ลูกๆของท่านให้เติบโตเป็นต้นไม้พันธุ์ดีต่อไปในอนาคต
สุดท้ายนี้ลูกคงไม่มีคำหวานคำใดที่ลูกจะมอบให้พ่อ นอกจากคำว่า “ลูกรักพ่อ”และพ่อคงไม่ใช่ผู้ชายในฝันของฉัน
เพราะฉันเกิดมาก็เห็นหน้าพ่อที่แสนดีของฉันแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น